HOME   |   HISTORY   |   AWARD   |   PRODUCTION OF CELADON   |   PROFILE   |   GALLERY   |   CONTACT US   |   LANGUAGE  TH   EN
Chiangmai Celadon  

Production of celadon

ประวัติเซลาดอนในประเทศไทย

สมัยสุโขทัย ประมาณ ค.ศ.1300 – 1500 (พ.ศ.1503 – 1822) เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทสโตนแวร์ (Stoneware) เคลือบสีเขียวไข่กา ซึ่งเราเรียกเครื่องปั้นดินเผาเคลือบโทนสีเขียวนี้ว่า “เครื่องสังคโลก” เรียกชื่อตามแหล่งเตาเผาที่ผลิตในประวัติศาสตร์ อยู่ที่ อ. สวรรคโลก จ.สุโขทัย

ฝรั่งนิยมเรียกเครื่องสังคโลกว่า ผลิตภัณฑ์เซลาดอน (Celadon) ตามภาษาฝรั่งเศส เครื่องถ้วย เซลาดอนนี้ มีต้นกำเนิดมาจากจีน ถ้าก้นถ้วยมีตราเป็นภาษาจีน แสดงว่าผลิตมาจากจีน แต่ถ้าก้นถ้วยมีอักษรไทย แสดงว่าผลิตในเมืองไทย

สุโขทัยเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกของไทยมาต่อเนื่องนานกว่า 200 ปี ดังได้พบซากเตาเผาเก่าที่ ต.บ้านเกาะน้อย และ ต.ป่ายาง จำนวนหลายร้อยเตา ผลิตเป็นสินค้าส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ได้พบชิ้นงานเครื่องเคลือบเซลาดอนชิ้นงาม ๆ ที่มีความสมบูรณ์ที่อินโดนีเซีย ชวา สุมาตรา มะละกา ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ตามเส้นทางการเดินเรือติดต่อค้าขาย

ในปลายสมัยสุโขทัย บ้านเมืองอ่อนแอ เกิดศึกสงครามบ่อยครั้ง และได้ย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ กรุงศรีอยุธยา จึงไม่มีการทำเซลาดอนต่อ

สมัยอยุธยา ประมาณปี ค.ศ.1550 – 1750 (พ.ศ.2100 – 2310) ได้มีการสั่งผลิตภัณฑ์พอร์ตสเลน (Porcelain) จากจีนเข้ามาใช้ในราชสำนักจำนวนมาก ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อขาวกึ่งแก้ว ทำมาจากมณฑลเจียงซี ประเทศจีน ไทยเรียกว่าเครื่องกังไส หรือเครื่องลายคราม คนส่วนใหญ่หันไปนิยมเครื่องกังไสแทนเซลาดอน
ในจังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาอุณหภูมิต่ำ ประเภทคนโท หม้อน้ำ อ่าง และกระถาง เป็นต้น เป็นผลิตภัณฑ์ดินแดง Terra Cotta ไม่เคลือบ ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1950 (พ.ศ.2480) เริ่มมีชาวไทยใหญ่จากรัฐฉาน ประเทศพม่า อพยพมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่มากขึ้น มีการตั้งเตาฟืนหลายเตาที่บริเวณตลาดประตูช้างเผือก โดยใช้เคลือบขี้เถ้าไม้เผาที่อุณหภูมิสูง ผลิตหม้อแช่ ข้าวนึ่ง กระถาง ขารอง ตู้กับข้าว ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเป็นเนื้อดินสโตนแวร์เคลือบสีเขียวเซลาดอน

ต่อมาผลิตภัณฑ์เซลาดอนก็ได้มีการออกแบบหลากหลายขึ้น เมื่อมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของโรงงานเซลาดอนในจังหวัดเชียงใหม่ได้ออกแบบเป็นชุดอาหาร แจกัน และของแต่งบ้านอื่น ๆ ซึ่งต่อมาเมื่อเซลาดอนเป็นที่นิยมของตลาดมากขึ้น ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีการผลิตที่หลากหลาย จนมีเตาเผาที่ผลิตเซลาดอนที่มีชื่อเสียงหลายเตาเกิดขึ้นในเชียงใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังผลิตแบบดั้งเดิมโดยใช้ฝีมือแรงงาน ใช้เครื่องจักรในการผลิตน้อย น้ำเคลือบใช้สูตรโบราณจากขี้เถ้าไม้ยืนต้น จากไม้ก่อและ ไม้รกฟ้า

จึงถือได้ว่า เชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตเซลาดอนแบบดั้งเดิม ที่อนุรักษ์ความงามของศิลปะสมัยสุโขทัยไว้ และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 70 ปี จนถึงปัจจุบัน

ที่มา: นางสาวไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, กุมภาพันธ์ 2552


ขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเซลาดอน

Production of celadon

ขั้นตอนที่ 1

การเตรียมดินซึ่งดินสำหรับผลิตศิลาดลต้องเป็นดินดำที่ส่วนใหญ่จะหาได้จากในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการนำมาย่อย บดให้ละเอียด แล้วนำมาร่อน เพื่อให้แน่ใจว่าดินที่ได้เป็นดินที่มีคุณภาพจริงๆ

ขั้นตอนที่ 2

นำดินที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 ไปผสมน้ำ ล้างให้สะอาด ไม่ให้มีเศษขี้เหล็ก หรือวัตถุอื่นใดปะปนอยู่ แล้วนำไปใส่ในเครื่องอัดดิน เพื่ออัดเอาน้ำในดินออก ให้เหลือดินเป็นแผ่น ๆ

ขั้นตอนที่ 3

หลังจากผ่านเครื่องอัดดินแล้วจะต้องทิ้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกชั่วครู่ เพื่อให้อินทรีย์สารในดินนั้นเกิดการรวมตัว

ขั้นตอนที่ 4

นำดินที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 มานวดเพื่อไล่ฟองอากาศ

 

Production of celadon Production of celadon

ขั้นตอนที่ 5

นำดินที่ได้มาขึ้นรูปด้วยวิธีการต่างๆ
- ขึ้นรูปด้วยมือ Forming on the wheel
- ขึ้นรูปด้วยใบมีด
Production of celadon

ขั้นตอนที่ 6

ปล่อยให้ชิ้นงานแห้งตามธรรมชาติ แล้วจึงให้ช่างตกแต่งรูปทรงอีกครั้งหนึ่ง
Production of celadon

ขั้นตอนที่ 7

นำชิ้นงานที่ได้นั้นมาแกะสลักตามที่เราต้องการ (แกะในเนื้อดิน)
Production of celadon

ขั้นตอนที่ 8

นำชิ้นงานที่แห้งตามธรรมชาติแล้วไปเผาในเตา ใช้อุณภูมิในการเผา 800 องศาเซลเซียส 7-8 ชั่วโมง ได้ชิ้นงานสีน้ำตาลอ่อนเรียกว่า "บิสกิต" "Biscuit"
Production of celadon Production of celadon Production of celadon Production of celadon Production of celadon

ขั้นตอนที่ 9

เช็ครอยร้าวหรือความบกพร่องของชิ้นงาน "บิสกิต" ถ้าไม่ต้องการเขียนลายก็เตรียมนำไปชุบน้ำเคลือบในขั้นตอนต่อไป ส่วนชิ้นงานที่ต้องการตกแต่งลวดลาย ก็นำไปเขียนลวดลายตามต้องการก่อนการเคลือบ
Production of celadon Production of celadon

ขั้นตอนที่ 10

นำไปเคลือบด้วยน้ำเคลือบที่มีส่วนผสมของดินหน้านาผสมกับขี้เถ้าไม้ก่อ ไม้รกฟ้า หลังจากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งแล้วตกแต่งเคลือบให้ละเอียด ไม่ให้มีฟองอากาศ
Production of celadon Production of celadon

ขั้นตอนที่ 11

นำไปเผาที่อุณหภูมิ 1,260-1,300 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ทิ้งให้เย็นตัวในเตาเผาประมาณ 8-10 ชั่วโมง ก่อนเปิดเตา กลายเป็นชิ้นงานสีเขียวคล้ายหุ้มด้วยหยก





T-Celadon

Allright 2014 by: CHIANGMAI CELADON (2015) Limited Partnership

135/4 Moo 6 Doisaket - Bosang Rd., Papong, Doisaket, Chiang Mai 50220, Tel. 66-53-484693, 484695, Fax 66-53-484692
Email:
info@chiangmaiceladon.com, Website: www.chiangmaiceladon.com, Facebook: www.facebook.com/chiangmaiceladon

Twitter Twitter Twitter Twitter Twitter Google Plus